วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ระบบนิวเมติกส์ หมายถึง

ระบบนิวเมติกส์ หมายถึง ระบบการส่งถ่ายกำลังโดยอาศัยความดันลมเป็นตัวกลางในการส่งถ่ายกำลัง โดยมีอุปกรณ์เช่น
กระบอกสูบ ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานลมให้เป็นพลังงานกล

   ข้อดีของระบบนิวเมติกส์
   - มีความเร็วในการทำงาน ลมอัดมีความเร็วในการทำงานสูง
   - ทนต่อการระเบิด เพราะลมไม่ติดไฟ และไม่ระเบิด
   - มีความปลอดภัย เนื่องจากอุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ไม่เกิดความเสียหายเมื่อใช้งานเกินกำลัง
   - สามารถปรับความเร็วในระบบได้ง่าย และสะดวกในการติดตั้ง
   - การส่งถ่ายลม สามารถส่งไปตามท่อหรือสายลมในระยะทางไกลๆได้โดยง่าย ส่วนลมที่ใช้แล้วสามารถปล่อยทิ้งสู่บรรยากาศ
   ได้ทันที โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษ

   ข้อเสียของระบบนิวเมติกส์
   - เมื่อลมมีความชื้นและเมื่อความชื้นเข้าไปในระบบจะเกิดสนิม ทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์ที่วัสดุทำปฏิกิริยากับความชื้น
   เสียหายได้
   - ความดันลมจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยน ซึ่งเมื่ออุณหภูมิสูงลมอัดจะมีความดันสูง และความดันจะลดลงเมื่ออุณหภูมิ
   ต่ำลง
   - ลมสามรถอัดตัวได้ จึงทำให้การเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ทำงานไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากการยุบตัวของลมอัด
   - มีเสียงดัง 


* Pneumatic Compressor Pump.jpg (71.76 KB, 562x600 - ดู 5656 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล    บันทึกการเข้า

สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
สุดยอดสมาชิก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1545

นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ELECTRONIC ราชมงคลธัญบุรี

suwat_elec@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 08:36:03 pm »

Air Compressors หลักการทำงานของเครื่องอัดอากาศ คือ?
การทำงานของเครื่องอัดอากาศ(air compressors) คือ เมื่อเปิดสวิทช์การทำงานของเครื่อง ถ้าอากาศยังมีความดันต่ำกว่าที่กำหนด Pressure Switch ก็จะต่อวงจรไฟฟ้าผ่านไปยังมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์หมุน และไปขับให้ปั๊มอัดอากาศทำงาน   และเมื่ออากาศภายในถังบรรจุอากาศมีความดันสูงถึงพิกัดที่กำหนดไว้ Presssure Switch ก็จะตัดวงจรไฟฟ้าให้มอเตอร์หยุดทำงาน

แต่เมื่ออากาศภายในถังบรรจุอากาศถูกนำไปใช้งาน และความดันภายในถังบรรจุอากาศต่ำลงจนถึงตำแหน่งที่กำหนดไว้ Presssure Switch ก็จะต่อวงจรให้มอเตอร์และปั๊มอากาศทำงานต่อไป โดยการทำงานของปั๊มอัดอากาศ(Air compressors) จะทำงานสลับกันไปเช่นนี้ตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ ดังนั้นถ้าต้องการให้เครื่องอัดอากาศหยุดการทำงานจะต้องปิดสวิทช์ควบคุมการทำงาน ของปั๊มอัดอากาศ(Air compressors)


* Compressor.jpg (17.76 KB, 300x300 - ดู 5583 ครั้ง.)

* Air compressors.jpg (21.95 KB, 400x212 - ดู 5533 ครั้ง.)
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล    บันทึกการเข้า

สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
สุดยอดสมาชิก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1545

นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ELECTRONIC ราชมงคลธัญบุรี

suwat_elec@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 08:36:33 pm »

ทุกวันนี้อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบอัดอากาศ Air Pressure Pump เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้งานกับระบบ Pneumatic ซึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ มีความจำเป็นต้องใช้มันเพื่อการอัดอากาศ อุปกรณ์เหล่านี้สิ้นเปลือง และสุญเสียพลังงานกับการอัดอากาศไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุมาจาก มอเตอร์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ Air Compressor Pump 
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล    บันทึกการเข้า

สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
สุดยอดสมาชิก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1545

นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ELECTRONIC ราชมงคลธัญบุรี

suwat_elec@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 08:37:23 pm »

นับเป็นเวลานานแล้วที่มนุษย์รู้จักการนำเอาลมอัดมาใช้งานให้เป็นประโยชน์ โดยที่ใช้แรงดันนี้มาดันลูกสูบให้เคลื่อนที่ในกระบอกสูบได้ ผลออกมาจะได้กำลังงานจากลูกสูบมากขึ้น หลักการนี้ได้มาจากการนำเอาความคิดจากการใช้ไม้ซางสำหรับเป่าลูกดอกเพื่อการ ล่าสัตว์ การต่อสู้ป้องกันตัว ในปัจจุบันได้มีการพัฒนานำเอาลมอัดมาใช้งานอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เช่นเครื่องจักรในการประกอบในงานอุตสาหกรรม เครื่องจักรในการบรรจุหีบห่อ เครื่องจักรในการขนย้ายวัสดุ เครื่องพิมพ์ และเครื่องมือเครื่องจักรอื่นๆ อีกมากมาย

เหตุผลที่มีการนำลมอัดมาใช้อย่างกว้างขวางในงานอุตสาหกรรมที่เป็นระบบ อัตโนมัติ เนื่องจากเป็นการประหยัดแรงงาน โครงสร้างของอุปกรณ์บังคบทิศทางลมอัดแบบง่ายๆ มีความปลอดภัยในการทำงานสูง เพราะมีอุณหภูมิต่ำ เครื่องจักรที่ใช้พลังงานลมอัดยังง่ายต่อการดัดแปลง เช่นสามารถใช้ร่วมกับไฟฟ้าในการบังคับจากระยะไกลๆได้ เป็นที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ในปัจจุบันระบบลมอัดที่ได้พัฒนามาใช้ในงานอุตสาหกรรมจึงได้ผลเป็นอย่างมาก ส่วนมากจะเรียกระบบลมนี้ว่า นิวส์เมติก
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล    บันทึกการเข้า

สุวัฒน์ หนูคีรี นักศึกษาวิศวอิเล็ก ผู้ดูแลระบบเว็บบอร์ด
ผู้ดูแลระบบ
Administrator
สุดยอดสมาชิก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1545

นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ELECTRONIC ราชมงคลธัญบุรี

suwat_elec@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 08:39:25 pm »

สาเหตุสำคัญที่มีการนำเอาระบบนิวส์เมติกมาใช้ในงานอุตสาหกรรมเนื่องมาจาก

   1. 1.ระบบนิวส์เมติกที่ใช้งานทั่วไปไม่มีการระเบิดหรือลุกไหม้เป็นเปลวไฟ จึงประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการป้องกันความปลอดภัย
   2. ความเร็วของเครื่องมือที่ใช้ระบบนิวส์เมติกให้ความเร็วในการทำงานสูง 1 ถึง 2 เมตรต่อวินาทีแต่ถ้าต้องการความเร็วสูงมากกว่านี้ จะต้องใช้กระบอกสูบชนิดพิเศษ ซึ่งมีความเร็วถึง 10 เมตรต่อวินาที
   3. ระบบนิวส์เมติกเมื่อใช้งานแล้วระบายทิ้งปล่อยสู่บรรยากาศเลยไม่ต้องเดินท่อทางนำกลับมาใช้อีก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
   4. ระบบนิวส์เมติกสามารถนำลมอัดที่อัดตัวแล้วไว้ในถังและนำไปใช้งานได้เลย
   5. อุปกรณ์ใชงานในระบบนิวส์เมติกมีความปลอดภัยหากใช้งานเกินกำลัง
   6. ระบบนิวส์เมติกสามารถปรับความเร็วในการทำงานได้โดยใช้อุปกรณ์ควบคุมความเร็ว และสามารถทำให้รอบในการทำงานสูงถึง 800 รอบต่อนาที
   7. สามารถปรับความดันลมอัดให้มีค่ามากน้อยได้ตามต้องการโดยใช้อุปกรณ์ควบคุมความดัน
   8. ความสะอาดของระบบนิวส์เมติกดีมาก เพราะมีชุดปรบปรุงคุณภาพลมก่อนนำไปใช้งาน
   9. ระยะชักของก้านสูบสามารถปรับแต่งระยะชักให้สั้นหรือยาวได้ตามความต้องการ
  10. สามารถทำงานได้ที่ระดับความแตกต่างของอุณหภูมิ

จะเห็นได้ว่าระบบนิวส์เมติกมีข้อดีอยู่หลายประการ แต่ในขณะเดียวกัน ระบบนิวส์เมติกก็มีข้อเสียอยู่ดังนี้

   1. ในโรงงานอุตสาหกรรมบางครั้งมีการเพิ่มอุปกรณ์นิวส์เมติกเข้ามาในวงจรโดย ไม่คำนึงถึงความสามารถของเครื่องอัดลม ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องจักรทำงานคลาดเคลื่อนได้และในบางครั้งถ้ากระบอก สูบอยู่ห่างจากอุปกรณ์ควบคุมเกินกว่า 5 เมตร จะทำให้เกิดปัญหาในการทำงานของกระบอกสูบ
   2. ลมที่ได้จากการอัดตัวในในระบบนิวส์เมติกจะมีความชื้นปนอยู่ และเมื่อความดันลดลงจะทำให้เกิดหยดน้ำขึ้นได้
   3. การทำงานของระบบนิวส์เมติกมักจะมีเสียงดังเพราะจะต้องมีการระบายลมทิ้งเนื่องจากลมที่ทิ้งปล่อยสู่บรรยากาศ จึงจำเป็นต้องมีที่เก็บเสียง
   4. ความดันของลมอัดในระบบนิวส์เมติกจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิสูงความดันก็จะสูง ถ้าอุณหภูมิต่ำความดันก็จะต่ำลงด้วย
   5. ถ้าต้องการแรงในการใช้งานมาก เส้นผ่าศูนย์กลางในกระบอกสูบจะต้องมีเส้นผ่ศูนย์กลางโตขึ้นเพื่อที่จะให้แรง ได้ตามความต้องการ ซึ่งกระบอกสูบในระบบนิวเมติกจะมีขีดจำกัดอยู่.. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น