วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเขียนภาษา VHDL


ภาษา VHDL 
ความซับซ้อนและขนาดของระบบดิจิตอลในปัจจุบันได้เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลให้มีการนำคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยใน การออกแบบหรือ CAD มาใช้ในขบวนการออกแบบฮาร์ดแวร์เพิ่มขึ้นเช่นกัน อีกทั้งอุปกรณ์และวิธีการ ออกแบบใหม่ๆ ก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักออกแบบมากขึ้นด้วย สำหรับภาษาบรรยายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (HDL : Hardware Description Language) ก็เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้การปรับปรุงขบวนการออกแบบระบบดิจิตอลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การออกแบบระบบดิจิตอล
ในการออกแบบระบบดิจิตอล เริ่มตั้งแต่การกำหนดแนวความคิดเบื้องต้นจนกระทั่งได้ออกมาเป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ที่ใช้งานได้จะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มากมาย และในแต่ละขั้นตอนผู้ออกแบบจะต้องตรวจสอบผลลัพธ์ในแต่ละขั้น ก่อนเข้าสู่กระบวนการออกแบบในขั้นต่อไป รูปที่ 5.1 แสดงขั้นตอนปกติที่ใช้ในการออกแบบระบบดิจิตอลทั่วไป ขั้น แรกผู้ออกแบบจะกำหนดแนวความคิดในการออกแบบแล้วทำการพัฒนาให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างสมบรูณ์ ซึ่งภาย ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจำเป็นต้องสร้างรูปแบบระบบในเชิงพฤติกรรมขึ้นมาตรวจสอบซึ่งอาจจะเป็นผังงานแสดงแบบหรือ รหัสคำสั่งเทียม (Pseudo code) ก็ได้
รูปที่ 5.1 แสดงขั้นตอนการออกแบบระบบดิจิตอล
ขั้นตอนต่อไปเป็นการออกแบบระบบเส้นทางของข้อมูล ผู้ออกแบบจะกำหนดส่วนประกอบของรีจิสเตอร์และวงจรลอจิก ที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อนำมาประกอบเป็นระบบที่สมบรูณ์ โดยแต่ละองค์ประกอบสามารถเชื่อมต่อกันด้วยบัสหนึ่งหรือสอง ทิศทาง (Unidirectional or Bidirectional Bus) ส่วนกระบวนการในการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่าง รีจิสเตอร์และวงจรลอจิกจะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของระบบที่กำหนดไว้ดังรูปที่ 5.2
รูปที่ 5.2 การออกแบบระบบเส้นทางของข้อมูล
ขั้นตอนถัดมาเป็นการออกแบบวงจรลอจิก ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการนำเกทดิจิตอลพื้นฐานและฟลิปฟลอป (flip-flop) มาประกอบเป็นอุปกรณ์ย่อยต่างๆ เช่น รีจิสเตอร์เก็บข้อมูล บัสวงจรลอจิก และส่วนควบคุมฮาร์ดแวร์ ซึ่งผลลัพธ์ ที่ได้ในขั้นตอนนี้จะเป็นเครือข่ายของการโยงใยระหว่างเกทและ ฟลิปฟลอปนั่นเองการออกแบบในขั้นตอนถัดไป เป็นการเปลี่ยนเครือข่ายการโยงใยที่ได้จากขั้นตอนที่แล้วให้เป็นลำดับของทรานซิสเตอร์ (Transistor List) และ Layout ซึ่งขั้นตอนนี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดวางทรานซิสเตอร์หรือไลบรารีเซลล์เพื่อ แทนเกทและฟลิปฟลอปต่างๆและในขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการส่งระบบที่ออกแบบไว้ไปทำการเจือสารที่โรงงานเพื่อผลิตออกมาเป็น วงจรรวมในที่สุด
ประวัติความเป็นมาของภาษา VHDL
VHDL ย่อมาจากคำว่า VHSIC Hardware Description Language (VHSIC : Very High Speed Integrated Circuit) เป็นภาษาโปรแกรมระดับสูง (High Level Language) ที่ใช้สำหรับการออกแบบฮาร์ด แวร์ในระบบดิจิตอล ตัวของภาษาสามารถบรรยายพฤติกรรมการทำงานในรูปของลำดับชั้น (Hierarchy) และ สามารถเขียนได้หลายรูปแบบ ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ภาษา VHDL เป็นเครื่องมือที่ใช้ออกแบบตั้งแต่ขั้นตอนบนสุด คือ แนวความคิดที่จะแก้ปัญหา ลงไปทีละขั้นจนถึงขั้นตอนของการสร้างวงจรจริง และตัวภาษาก็เปิดโอกาสให้วิศวกร ได้พัฒนาและจำลองการทำงานของรูปแบบฟังก์ชันการทำงานของวงจรอย่างสังเขป โดยยังไม่ต้องคำนึงถึงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างวงจรจริง นอกจากนั้น VHDL ยังเป็นภาษาที่สนับสนุนลักษณะต่างๆ ของระบบดิจิตอลที่มี ความซับซ้อนได้ทั้งหมด ดังนั้น VHDL จึงเป็นภาษาที่น่าสนใจในการศึกษาและนำไปใช้งานเป็นอย่างยิ่ง วิวัฒนาการของภาษา VHDL เริ่มต้นประมาณปี ค.ศ. 1981 เมื่อกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา หรือ DoD (Department of Defense) ได้พยายามปรับปรุงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในกิจการทางทหาร ให้มีความทันสมัยมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีทางด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วดังจะเห็นได้ จากการนำวงจรดิจิตอลหลายๆ วงจรมาทำการผลิตอยู่บนแผ่นซิลิกอนที่มีพื้นที่เพียง 1 - 2 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น ซึ่ง เป็นผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของวงจรสูงขึ้นตลอดจนความน่าเชื่อถือ ในการทำงานและความคงทนต่อสภาพ แวดล้อมสูง แต่เนื่องจากในขณะนั้นขั้นตอนของการออกแบบ การผลิต และการตรวจสอบวงจรต้นแบบ เป็นขบวนการที่ ต้องใช้วิศวกร และเวลาในดำเนินการมาก ฉะนั้นทาง DoD จึงจัดตั้งโครงการขึ้นมาเพื่อศึกษาวิธีการที่ช่วยในการพัฒนา วงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงจรระบบดิจิตอล ให้สามารถนำไปผลิตได้เร็วขึ้น ซึ่งโครงการดังกล่าวมีชื่อว่า "Very High Speed Integrated Circuits" หรือ VHSIC โดยในระยะแรกนั้นโครงการนี้ถือเป็นความลับทาง ด้านความมั่งคงของประเทศ และอยู่ภายใต้ความควบคุมดูแลของ United States International Traffic and Arms Regulations (ITAR) สำหรับมาตรฐานของภาษาที่ใช้บรรยาย พฤติกรรมวงจรหรือฮาร์ดแวร์ของระบบ สำหรับโครงการ VHSIC ที่ DoDได้ให้ไว้สามารถสรุปได้ดังนี้
- ต้องเป็นภาษาที่นำไปเขียนรูปแบบระบบดิจิตอล และมีคุณสมบัติที่สามารถเข้าใจได้ทั้งมนุษย์และเครื่อง คอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องมีการแปลหรือเปลี่ยนแปลงอีก
- สามารถนำไปใช้เป็นเอกสารประกอบโครงการได้
- ต้องเป็นภาษาที่เขียนขึ้นสำหรับใช้จำลองการทำงานของวงจร
ฉะนั้นภาษาดังกล่าวนี้จึงจัดเป็นภาษาโปรแกรมระดับสูง เช่นเดียวกับภาษาปาสคาล หรือภาษาซี ซึ่งในทางวิศวกรรม ภาษาที่ใช้ในการออกแบบฮาร์ดแวร์นี้เรียกว่า "Hardware Description Language" หรือ HDL

ในตอนเริ่มแรกนั้น DoD ได้มอบหมายให้บริษัทไอบีเอ็ม เท็กซัสอินสตูเมนท์ และอินเตอร์เมทริกซ์ เป็นผู้ศึกษาและพัฒนา โครงการ ซึ่งการดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี ค.ศ.1985 ทาง ITAR ได้ยกเลิกข้อจำกัดในการถ่ายทอด เทคโนโลยีทางทหารออกจากโครงการนี้ ดังนั้นภาษา VHDL จึงเริ่มเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป และประมาณปี ค.ศ. 1987 IEEE ได้ทำการกำหนดมาตรฐานของภาษานี้เป็น IEEE 1076-1987 และมีชื่อเรียกว่า VHDL ซึ่งมาตรฐานนี้ได้รับ การปรับปรุงจนเป็นมาตรฐาน IEEE 1076-1993 หรือ VHDL 1993 เนื่องจากในขณะนั้น DoD เป็นลูกค้ารายใหญ่ ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงมีผู้รับโครงการต่างๆ จาก DoD ไปดำเนินการวิจัยและพัฒนา เป็นจำนวนมาก และเพื่อให้ทุกโครงการอยู่ในมาตรฐานเดียวกันหมด ดังนั้นทาง DoD จึงได้กำหนดว่า ทุกๆ โครงการต้อง เขียนอยู่ในรูปของภาษา VHDLเท่านั้น ซึ่งทำให้ DoD สามารถนำโครงการเหล่านี้ไปจำลองกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ หลายๆระบบ
ข้อกำหนด
DoD ได้ตั้งข้อกำหนดสำหรับภาษา VHDL ในเดือนมกราคมปี ค.ศ.1983 ไว้ดังนี้
1. ลักษณะทั่วไป
DoD ได้กำหนดให้ VHDL เป็นภาษาสำหรับการออกแบบและบรรยายของฮาร์ดแวร์ ซึ่งหมายถึงความสามารถ ในการอธิบายและออกแบบในระดับสูง การจำลอง (Simulation) การสังเคราะห์ (Synthesis) และการทดสอบ (Testing) นอกจากนั้น VHDL ยังถูกกำหนดไว้สำหรับการบรรยายฮาร์ดแวร์ตั้งแต่ระดับบนซึ่งก็คือระบบจนถึง ระดับเกทอีกด้วย เนื่องจากในการทำงานของระบบดิจิตอลนั้น ทุกๆ องค์ประกอบภายในระบบไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ จะทำงานไปพร้อมๆ กัน ซึ่งในเรื่องของความพร้อมเพรียงในการทำงานนี้ก็ถือเป็นข้อกำหนดที่สำคัญอย่างหนึ่งของ VHDL ด้วยเช่นกัน (สำหรับในภาษาที่ใช้ในการบรรยายฮาร์ดแวร์นั้นความพร้อมเพรียงจะหมายถึงทุกๆ คำสั่ง องค์ประกอบ เกทหรือวงจรลอจิกจะถูกนำมาปฏิบัติทั้งหมด ดังนั้นในที่สุดแล้วก็จะดูเหมือนว่าได้มีการปฏิบัติไป พร้อมๆ กัน)
2. สนับสนุนการออกแบบแบบลำดับขั้น
การออกแบบแบบลำดับขั้นเป็นลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการออกแบบระบบที่มีหลายๆ ระดับ โดยในการ ออกแบบจะประกอบด้วยส่วนการบรรยายการเชื่อมต่อ และส่วนการบรรยายหน้าที่การทำงาน ซึ่งหน้าที่การทำงาน ของระบบสามารถกำหนดได้ด้วยตัวเอง หรืออาจถูกกำหนดโดยโครงสร้างที่ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยๆ ลง ไปได้เช่นกัน แต่ที่ระดับล่างสุด องค์ประกอบต้องถูกบรรยายหน้าที่การทำงานด้วยตัวมันเอง และไม่สามารถกำหนด การทำงานโดยลักษณะแบบโครงสร้างได้
3. ไลบรารี 
VHDL ได้สนับสนุนการมีไลบรารีเพื่อระบบการจัดการที่ดี ผู้ออกแบบสามารถกำหนดลักษณะและการทำงานของ อุปกรณ์พื้นฐานไว้ในระบบไลบรารี หรือจะใช้ไลบรารีที่ระบบได้จัดเตรียมไว้แล้วก็ได้ โมเดลและการบรรยายที่ถูก ต้องควรจัดเก็บไว้ในไลบรารีหลังจากที่ได้ผ่านการคอมไพล์เรียบร้อยแล้วเพื่อให้ผู้ออกแบบคนอื่นๆ สามารถนำไป ใช้ได้ด้วย
4. ลำดับคำสั่ง 
แม้ว่าการปฏิบัติคำสั่งหรือกระบวนการโดยพร้อมเพรียงกันจะเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของ VHDL ก็ตาม ตัวภาษา เองก็ยังมีการจัดเตรียมลักษณะการควบคุมแบบลำดับคำสั่งไว้ให้ด้วย เมื่อผู้ออกแบบได้กำหนดหน้าที่และองค์ประกอบ ที่ทำงานพร้อมกันของระบบไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้ออกแบบยังสามารถบรรยายหน้าที่การทำงานซึ่งเป็นรายละเอียดภายใน ของแต่ละองค์ประกอบได้ในลักษณะเดียวกับการเขียนโปรแกรมที่ประกอบด้วยโครงสร้างแบบ case, if - then - else และ loop ทั่วๆ ไปได้ การบรรยายแบบลำดับคำสั่งทำให้การออกแบบหน้าที่การทำงานของอุปกรณ์กระทำได้ สะดวกและง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามโครงสร้างทั้งหมดของ VHDL ก็ยังคงเป็นการทำงานแบบพร้อมเพรียงกันเช่นเดิม
5. การกำหนดคุณสมบัติ
นอกจากการกำหนดอินพุทและเอาท์พุทแล้ว เงื่อนไขอื่นๆ ก็มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ด้วยเช่นกัน โดยสิ่งนี้รวมถึงสภาพแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพของอุปกรณ์นั้นๆ ด้วย ซึ่งภาษาสำหรับการออกแบบที่ดีควร ให้ผู้ออกแบบกำหนดคุณสมบัติของอุปกรณ์ที่ใช้ได้ด้วย เช่น สามารถกำหนดขนาด ลักษณะทางกายภาพเวลา โหลด และเงื่อนไขทางสภาพแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งความสามารถในการกำหนดคุณสมบัตินี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีอยู่ในภาษา VHDL ด้วยเช่นกัน
6. ชนิดของข้อมูล 
VHDL สามารถกำหนดชนิดของข้อมูลไม่เพียงแต่ชนิด BIT และ BOOLEAN เท่านั้น แต่ยังสามารถกำหนดชนิด ของข้อมูลเป็นจำนวนเต็ม จำนวนจริง จุดทศนิยม และชนิดลำดับการนับ (Enumerate Type) หรือแม้แต่ชนิดของ ข้อมูลที่ผู้ออกแบบกำหนดขึ้นมาเองก็ได้
7. โปรแกรมย่อย 
ความสามารถในการใช้ฟังก์ชันและโพรซีเจอร์ (Procedure) ก็เป็นข้อกำหนดอีกอย่างหนึ่งใน VHDL ซึ่งผู้ออกแบบ สามารถนำโปรแกรมย่อยมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงชนิดของข้อมูล การกำหนดหน่วยของลอจิก การกำหนดตัวกระทำต่างๆ หรือหน้าที่อื่นๆ ตามที่ต้องการได้เช่นเดียวกับการเขียนโปรแกรมทั่วไป
8. การควบคุมเวลา 
VHDL อนุญาตให้ผู้ออกแบบสามารถกำหนดเวลาในการส่งผ่านข้อมูลหรือสัญญาณได้ตามต้องการ การตรวจสอบ การออกแบบเกทหรือการหน่วงเวลาก็สามารถกระทำได้โดยการกำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนหรือกำหนดให้มีการรอคอย เหตุการณ์ (Event) นอกจากนี้ก็ยังสามารถกำหนดรูปแบบของสัญญาณนาฬิกาได้อีกด้วย
9. การกำหนดแบบโครงสร้าง 
การกำหนดโครงสร้างขององค์ประกอบต่างๆ สามารถกระทำได้ในทุกระดับของการออกแบบ โดยการกำหนดโครง สร้างขององค์ประกอบร่วมที่เกิดจากองค์ประกอบย่อยซึ่งแตกต่างกันหรือ เหมือนกันก็เป็นข้อกำหนดอย่างหนึ่งของ VHDL เช่นกัน

CPLD คืออะไร


 โครงสร้างและหลักการทำงานของ CPLD
CPLD เป็นคำย่อมาจาก Complex Programmable Logic Device หมายถึงเป็นชิพไอซีที่สามารถสร้างวงจรลอจิกทั้งแบบ Combination และ Sequential ได้โดยการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมลงไปบนตัวชิพโดยใช้มาตรฐานการโปรแกรมแบบ JTAG Programmer
อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ได้แก่
GAL (GAL : Gate Array Logic) เป็นชิพที่ใช้โปรแกรมวงจรลอจิกได้เฉพาะวงจร Combination โปรแกรมโดยเครื่องโปรแกรมโดยเฉพาะ โปรแกรมได้เพียงครั้งเดียว หากผิดไม่สามารถแก้ไขได้ ขาอินพุท และเ อ้าท์พุทถูกกำหนดไว้ตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนได้ มีจำนวนลอจิกเกต
น้อย ใช้แทนวงจรที่มีขนาดเล็กไม่ซับซ้อน
PAL (PAL : Programmable Array Logic) เป็นชิพที่ใช้โปแกรมสร้างวงจรลอจิกที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่า GAL โดยมีทั้งตัว Logic gate ต่าง ๆ และ ตัว Flip – flopที่สามารถออกแบบวงจรที่ผสมระหว่าง Combination logic และ Sequential logic การโปรแกรมมีเครื่องมือที่สามารถออกแบบและโปรแกรมผ่านทางคอมพิวเตอร์ได้ ส่วนขา I/O ยังถูกบังคับไม่สามารถใช้สลับกันได้ แต่การโปรแกรมไม่สามารถทำซ้ำได้มากนัก
ส่วน CPLD เป็นชิพที่ใช้ออกแบบวงจรขนาดใหญ่ที่สามารถออกแบบโดยเขียนเป็นโปรแกรมภาษา HDL ได้ ใช้เทคโนโลยีการเก็บรักษาวงจรแบบ Flash ที่สามารถคงสถานะของวงจรที่ฝังอยู่ประมาณ 20 – 40 ปี สามารถโปรแกรมซ้ำได้ประมาณมากกว่า 10000 ครั้ง ขา I/O เป็นแบบเอนกประสงค์โดยสามารถกำหนดให้ เป็นอินพุท และเอ้าพุทแบบต่าง ๆ ได้ มีจำนวนลอจิกเกตที่สามารถกำหนดให้เป็นเกต อะไรก็ได้ เริ่มตั้งแต่ 800 ตัวและ Flip-flop 36 ตัว ไปจนถึง เป็นแสน ๆ เกต
และ Flip-flop หลายพันตัว ที่สามารถรองรับการออกแบบวงจรขนาดใหญ่ ๆ และซับซ้อนมาก ๆ ได้
FPGA (FPGA : Filled Programmable Gate Array) เป็นชิพที่ใช้ออกแบบวงจรที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ และมีความซับซ้อนของระบบสูงมากเท่าที่มีอยู่ปัจจุบัน ที่ใช้ในการพัฒนาออกแบบหน่วยประมวลผล (CPU) ขนาดใหญ่ ๆ ได้ โดยมีจำนวนลอจิกเกตและ Flip-flop นับล้าน ๆ ตัว มีจำนวนขา I/O ตั้งแต่หลายสิบไปจนถึงหลายร้อยขา การโปรแกรมและการรักษาวงจรใช้เทคโนโลยีแบบ Volantine เช่นเดียวกับโครงสร้างหน่วยความจำ RAM คือต้องโปรแกรมแล้วต้องมีไฟเลี้ยงตัวชิพอยู่ตลอดเวลา หากไฟดับวงจรจะหายไปทันที ดังนั้นในการออกใช้งาน จะต้องมี Flash memory สำหรับเก็บค่าสถานะของวงจรต่อพ่วงอยู่เสมอ โดยขณะที่โปรแกรม เราต้องโปรแกรมค่า Config. ลงใน Flash ด้วย การทำงานคือ เมื่อเปิดไฟเลี้ยงตัวชิพ ข้อมูล Config.วงจรจาก Flash จะถูกโหลดมาสร้างเป็นวงจรตามที่โปรแกรมไว้และทำงานได้ทันที ด้วยเทคโนโลยีนี้ FPGA จึงสามารถใช้งานได้เหมือนกันกับ 2
CPLD และที่สำคัญ CPLD และ FPGA สามารถใช้โปรแกรมที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาออกแบบวงจรตัวเดียวกัน

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ปัญหาการนอนไม่หลับ ^^


ปัญหาการนอนไม่หลับ

สาเหตุของการนอนไม่หลับ
ปัญหานอนไม่หลับเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุและหญิงวัยหมดประจำเดือน หากเกิดขึ้นในระยะสั้นๆ แล้วหายไปก็ไม่มีผลต่อร่างกายมาก แต่ถ้าหากเกิดบ่อยๆอาจทำให้ร่างกายผักผ่อนไม่พอ และง่วงเหงาหาวนอนในเวลากลางวันหรือในขณะทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง แต่ถ้าเรื้อรังอาจกลายเป็น โรคนอนไม่หลับ และถ้าไม่แก้ไขก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งตัวเองและคู่ครอง ภูมิต้านทานโรคลดลง และอาจเพิ่มสถิติการเกิดอุบัติเหตุการขับขี่ยานพาหนะได้

การนอนไม่หลับเกิดจาก

แต่ละคนแต่ละวัยมีสาเหตุแตกต่างกันไป
  • อาการไข อาการปวด ทำให้หลับยาก สาเหตุเหล่านี้บรรเทาอาการได้ด้วยยาลดไข้หรือแก้ปวด ก็จะทำให้หลับได้
  • อาการเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น อาการซึมเศร้า หอบหืด โรคกระดูกพรุน ระบบย่อยปั่นป่วนไม่ปกติ ล้วนแล้วแต่ทำให้นอนไม่หลับทั้งสิ้น
  • ยาบางชนิด เช่น พวกสเตียรอยด์ ยาลดอาการซึมเศร้า ยาลดความดัน และยาแก้โรคหอบหืด อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้
  • การนอนไม่หลับยังเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของแต่ละคน เช่น ผู้ที่ต้องเดินทางข้ามทวีป เวลาการนอนและการดื่มตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง ทำให้เกิดอาการที่ฝรั่งเรียกว่า เจ็ทแล็ก เพราะเวลาเปลี่ยนไป หรือบางคนดื่มกาแฟจัด สูบบุหรี่มาก ดื่มเหล้า ขาดการออกกำลังกายหรือออกกำลังกายก่อนนอน เตียงนอนไม่สบาย อากาศร้อนหรือหนาวเกินไป เสียงดังเกินไป สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาในการนอนทั้งสิ้น
  • ความเครียด วิตกกังวล ก็เป็นสาเหตุสำคัญของการนอนไม่หลับ
  • การขาดสารอาหาร
การนอนหลับที่ดี ร่างกายต้องการเพียงแค่ 7 ชั่วโมงเท่านั้น นอนน้อยไปหรือมากไปก็ล้วนแต่ให้โทษกับร่างกาย การนอนหลับอย่างสนิท 5-7 ชั่วโมงก็เพียงพอสำหรับร่างกายได้ในบางคน

RFID คืออะไร


RFID ย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 เพื่อวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำไปใช้งานแทนระบบรหัสแท่งหรือบาร์โค้ด (Barcode)

จุดเด่นของ RFID คือ สามารถอ่านค่าข้อมูลจากป้ายหรือแท็ก (Transponder/Tag) ได้หลายๆ แท็ก พร้อมๆ กัน แบบไร้สัมผัส สามารถอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ทัศนวิสัยไม่ดี(มองไม่เห็น) สามารถอ่านค่าได้แม้ไม่ต้องอยู่ในแนวเส้นตรง (Non-Line of Sight) เดียวกับเครื่องอ่าน (RFID Reader) ทนต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก สามารถอ่านค่าข้อมูลได้ระยะไกล สามารถอ่านค่าข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง

กรมศุลกากรมีนโยบายในการนำ ระบบการติดตามทางศุลกากร (TRACKING SYSTEM) :ระบบ RFID มาใช้ในการควบคุมทางศุลกากร เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์ของทางราชการ ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐ และเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ การอำนวยความสะดวกแก่ผู้นำเข้า-ส่งออก การตรวจสอบติดตาม ควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าให้มีความรวดเร็ว ทันสมัย เกิดความโปร่งใสและสอดคล้องกับระบบงานศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์

กรม ศุลกากรโดยสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จึงมีความประสงค์ที่จะดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวเพื่อเสริมสร้างศักยภาพใน การแข่งขันของผู้ประกอบการทางอากาศยานที่ต้องแข่งขันกับเวลา จึงได้ร่วมมือกับ ท่าอากาศยานไทย FZO การบินไทย BFS เพื่อศึกษาการนำระบบ RFID มาใช้กับการขนส่งสินค้าทางอากาศยาน โดยเห็นว่าควรนำร่องสำหรับการผ่านพิธีการศุลกากรขาออกก่อน ซึ่งผู้ประกอบที่จะดำเนินการใช้ ระบบ RFID ต้องมีคุณสมบัติความพร้อมนอกเหนือจากการส่งข้อมูลทาง e-Export แล้ว ดังนี้

1.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถส่งข้อมูล e-Seal ตามรูปแบบที่ศุลกากรกำหนดเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ของศุลกากรได้
2. มี Seal อิเล็กทรอนิกส์ แบบ Passive หรือแบบ Active ซึ่งต้องมีย่านความถี่อยู่ระหว่าง 920-925 MHz หรือ 433.05 – 434.79 MHz ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของ เครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ เรื่อง เครื่องวิทยุคมนาคมประเภท Radio Frequency Identification: RFID (กทช. มท. 1010 – 2550)

3. ตัวอ่านระบบตรวจสอบรหัสโดยใช้ความถี่วิทยุ (RFID Reader) ที่ติดตั้งไว้ที่สถานที่บรรจุสินค้า ต้องมีมาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานทาง เทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ เรื่อง เครื่องวิทยุคมนาคมประเภท Radio Frequency Identification: RFID (กทช. มท. 1010 – 2550) ดังกล่าวข้างต้น

4.ต้องเป็นการขนส่งโดยรถบรรทุกตู้ทึบที่มีประตูปิดท้ายสามารถที่ผนึกด้วยซีลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Seal) ได้

สำหรับการผ่านพิธีการศุลกากร e-Export ด้วยระบบตรวจสอบรหัสโดยใช้ความถี่วิทยุ (RFID) ให้ดำเนินการดังนี้

1. ผู้ส่งของออก/ตัวแทน จัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาออก และส่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร

2. เมื่อบรรจุของขึ้นรถบรรทุกเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ส่งของออก/ตัวแทน หรือผู้รับผิดชอบการบรรจุ จัดทำใบกำกับการขนย้ายสินค้า และส่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร พร้อมทั้งทำการผนึกด้วยซีลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Seal) ที่ประตูตู้ท้ายรถและส่งข้อมูล e-Seal ตามรูปแบบที่ศุลกากรกำหนด มายังระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร

3. พนักงานขับรถ ขับรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์/รถบรรทุกตู้ทึบ ที่ได้ผนึก e-Seal เรียบร้อยแล้ว เพื่อไปยังท่าที่ส่งออก โดยสถานที่บรรจุนั้น จะติดตั้งตัวอ่านระบบตรวจสอบรหัสโดยใช้ความถี่วิทยุ (RFID Reader) เพื่อเก็บข้อมูลวันที่และเวลาที่มีการเคลื่อนย้ายของออกจากสถานที่บรรจุ เมื่อรถบรรทุกสินค้าวิ่งผ่านสถานีตรวจสอบ (Checking Post) สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เครื่องอ่านระบบตรวจสอบรหัสโดยใช้ความถี่วิทยุ (RFID Reader) จะเก็บข้อมูลวันที่และเวลาที่มีการเคลื่อนย้ายของผ่านสถานีตรวจสอบ (Checking Post) โดยระบบจะเรียกข้อมูลใบกำกับการขนย้ายสินค้าที่ตรงกับในข้อมูล e-Seal ที่อ่านได้ขึ้นมาแสดงให้เจ้าหน้าที่ประจำสถานีตรวจสอบ (Checking Post) เห็น และตัดบัญชีข้อมูลใบกำกับการขนย้ายสินค้านั้นให้อัตโนมัติโดยโปรแกรมจะ Update วันที่ เวลาที่ตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้า

ปัจจุบันได้มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการนำร่องการผ่านพิธีการศุลกากร e-Export ด้วยระบบตรวจสอบรหัสโดยใช้ความถี่วิทยุ (RFID) ดังนี้

1.บริษัท ทิฟฟ่า อีดีไอ เซอร์วิสเซส จำกัด

2 บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด

3.บริษัท อจิลิตี้ จำกัด

4.บริษัท ทีเอ็นที เอ็กซเพรส เวิลด์ไวด์ (ประเทศไทย)

5.บริษัท ดีเอชแอล เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย)จำกัด

6.บริษัท วี-เซิร์ฟ โลจีสติกส์ จำกัด
7.บริษัท อีดีไอ สยาม จำกัด
8.บริษัท อีเกิลล์ แอร์แอนด์ซี (ประเทศไทย) จำกัด
9.บริษัท ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
10.บริษัท ไพโอเนียร์ แอร์คาร์โก้ จำกัด