วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ปัญหาการนอนไม่หลับ ^^


ปัญหาการนอนไม่หลับ

สาเหตุของการนอนไม่หลับ
ปัญหานอนไม่หลับเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุและหญิงวัยหมดประจำเดือน หากเกิดขึ้นในระยะสั้นๆ แล้วหายไปก็ไม่มีผลต่อร่างกายมาก แต่ถ้าหากเกิดบ่อยๆอาจทำให้ร่างกายผักผ่อนไม่พอ และง่วงเหงาหาวนอนในเวลากลางวันหรือในขณะทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง แต่ถ้าเรื้อรังอาจกลายเป็น โรคนอนไม่หลับ และถ้าไม่แก้ไขก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งตัวเองและคู่ครอง ภูมิต้านทานโรคลดลง และอาจเพิ่มสถิติการเกิดอุบัติเหตุการขับขี่ยานพาหนะได้

การนอนไม่หลับเกิดจาก

แต่ละคนแต่ละวัยมีสาเหตุแตกต่างกันไป
  • อาการไข อาการปวด ทำให้หลับยาก สาเหตุเหล่านี้บรรเทาอาการได้ด้วยยาลดไข้หรือแก้ปวด ก็จะทำให้หลับได้
  • อาการเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น อาการซึมเศร้า หอบหืด โรคกระดูกพรุน ระบบย่อยปั่นป่วนไม่ปกติ ล้วนแล้วแต่ทำให้นอนไม่หลับทั้งสิ้น
  • ยาบางชนิด เช่น พวกสเตียรอยด์ ยาลดอาการซึมเศร้า ยาลดความดัน และยาแก้โรคหอบหืด อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้
  • การนอนไม่หลับยังเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของแต่ละคน เช่น ผู้ที่ต้องเดินทางข้ามทวีป เวลาการนอนและการดื่มตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง ทำให้เกิดอาการที่ฝรั่งเรียกว่า เจ็ทแล็ก เพราะเวลาเปลี่ยนไป หรือบางคนดื่มกาแฟจัด สูบบุหรี่มาก ดื่มเหล้า ขาดการออกกำลังกายหรือออกกำลังกายก่อนนอน เตียงนอนไม่สบาย อากาศร้อนหรือหนาวเกินไป เสียงดังเกินไป สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาในการนอนทั้งสิ้น
  • ความเครียด วิตกกังวล ก็เป็นสาเหตุสำคัญของการนอนไม่หลับ
  • การขาดสารอาหาร
การนอนหลับที่ดี ร่างกายต้องการเพียงแค่ 7 ชั่วโมงเท่านั้น นอนน้อยไปหรือมากไปก็ล้วนแต่ให้โทษกับร่างกาย การนอนหลับอย่างสนิท 5-7 ชั่วโมงก็เพียงพอสำหรับร่างกายได้ในบางคน

RFID คืออะไร


RFID ย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 เพื่อวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำไปใช้งานแทนระบบรหัสแท่งหรือบาร์โค้ด (Barcode)

จุดเด่นของ RFID คือ สามารถอ่านค่าข้อมูลจากป้ายหรือแท็ก (Transponder/Tag) ได้หลายๆ แท็ก พร้อมๆ กัน แบบไร้สัมผัส สามารถอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ทัศนวิสัยไม่ดี(มองไม่เห็น) สามารถอ่านค่าได้แม้ไม่ต้องอยู่ในแนวเส้นตรง (Non-Line of Sight) เดียวกับเครื่องอ่าน (RFID Reader) ทนต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก สามารถอ่านค่าข้อมูลได้ระยะไกล สามารถอ่านค่าข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง

กรมศุลกากรมีนโยบายในการนำ ระบบการติดตามทางศุลกากร (TRACKING SYSTEM) :ระบบ RFID มาใช้ในการควบคุมทางศุลกากร เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์ของทางราชการ ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐ และเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ การอำนวยความสะดวกแก่ผู้นำเข้า-ส่งออก การตรวจสอบติดตาม ควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าให้มีความรวดเร็ว ทันสมัย เกิดความโปร่งใสและสอดคล้องกับระบบงานศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์

กรม ศุลกากรโดยสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จึงมีความประสงค์ที่จะดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวเพื่อเสริมสร้างศักยภาพใน การแข่งขันของผู้ประกอบการทางอากาศยานที่ต้องแข่งขันกับเวลา จึงได้ร่วมมือกับ ท่าอากาศยานไทย FZO การบินไทย BFS เพื่อศึกษาการนำระบบ RFID มาใช้กับการขนส่งสินค้าทางอากาศยาน โดยเห็นว่าควรนำร่องสำหรับการผ่านพิธีการศุลกากรขาออกก่อน ซึ่งผู้ประกอบที่จะดำเนินการใช้ ระบบ RFID ต้องมีคุณสมบัติความพร้อมนอกเหนือจากการส่งข้อมูลทาง e-Export แล้ว ดังนี้

1.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถส่งข้อมูล e-Seal ตามรูปแบบที่ศุลกากรกำหนดเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ของศุลกากรได้
2. มี Seal อิเล็กทรอนิกส์ แบบ Passive หรือแบบ Active ซึ่งต้องมีย่านความถี่อยู่ระหว่าง 920-925 MHz หรือ 433.05 – 434.79 MHz ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของ เครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ เรื่อง เครื่องวิทยุคมนาคมประเภท Radio Frequency Identification: RFID (กทช. มท. 1010 – 2550)

3. ตัวอ่านระบบตรวจสอบรหัสโดยใช้ความถี่วิทยุ (RFID Reader) ที่ติดตั้งไว้ที่สถานที่บรรจุสินค้า ต้องมีมาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานทาง เทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ เรื่อง เครื่องวิทยุคมนาคมประเภท Radio Frequency Identification: RFID (กทช. มท. 1010 – 2550) ดังกล่าวข้างต้น

4.ต้องเป็นการขนส่งโดยรถบรรทุกตู้ทึบที่มีประตูปิดท้ายสามารถที่ผนึกด้วยซีลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Seal) ได้

สำหรับการผ่านพิธีการศุลกากร e-Export ด้วยระบบตรวจสอบรหัสโดยใช้ความถี่วิทยุ (RFID) ให้ดำเนินการดังนี้

1. ผู้ส่งของออก/ตัวแทน จัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาออก และส่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร

2. เมื่อบรรจุของขึ้นรถบรรทุกเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ส่งของออก/ตัวแทน หรือผู้รับผิดชอบการบรรจุ จัดทำใบกำกับการขนย้ายสินค้า และส่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร พร้อมทั้งทำการผนึกด้วยซีลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Seal) ที่ประตูตู้ท้ายรถและส่งข้อมูล e-Seal ตามรูปแบบที่ศุลกากรกำหนด มายังระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร

3. พนักงานขับรถ ขับรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์/รถบรรทุกตู้ทึบ ที่ได้ผนึก e-Seal เรียบร้อยแล้ว เพื่อไปยังท่าที่ส่งออก โดยสถานที่บรรจุนั้น จะติดตั้งตัวอ่านระบบตรวจสอบรหัสโดยใช้ความถี่วิทยุ (RFID Reader) เพื่อเก็บข้อมูลวันที่และเวลาที่มีการเคลื่อนย้ายของออกจากสถานที่บรรจุ เมื่อรถบรรทุกสินค้าวิ่งผ่านสถานีตรวจสอบ (Checking Post) สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เครื่องอ่านระบบตรวจสอบรหัสโดยใช้ความถี่วิทยุ (RFID Reader) จะเก็บข้อมูลวันที่และเวลาที่มีการเคลื่อนย้ายของผ่านสถานีตรวจสอบ (Checking Post) โดยระบบจะเรียกข้อมูลใบกำกับการขนย้ายสินค้าที่ตรงกับในข้อมูล e-Seal ที่อ่านได้ขึ้นมาแสดงให้เจ้าหน้าที่ประจำสถานีตรวจสอบ (Checking Post) เห็น และตัดบัญชีข้อมูลใบกำกับการขนย้ายสินค้านั้นให้อัตโนมัติโดยโปรแกรมจะ Update วันที่ เวลาที่ตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้า

ปัจจุบันได้มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการนำร่องการผ่านพิธีการศุลกากร e-Export ด้วยระบบตรวจสอบรหัสโดยใช้ความถี่วิทยุ (RFID) ดังนี้

1.บริษัท ทิฟฟ่า อีดีไอ เซอร์วิสเซส จำกัด

2 บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด

3.บริษัท อจิลิตี้ จำกัด

4.บริษัท ทีเอ็นที เอ็กซเพรส เวิลด์ไวด์ (ประเทศไทย)

5.บริษัท ดีเอชแอล เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย)จำกัด

6.บริษัท วี-เซิร์ฟ โลจีสติกส์ จำกัด
7.บริษัท อีดีไอ สยาม จำกัด
8.บริษัท อีเกิลล์ แอร์แอนด์ซี (ประเทศไทย) จำกัด
9.บริษัท ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
10.บริษัท ไพโอเนียร์ แอร์คาร์โก้ จำกัด