วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

CPLD คืออะไร


 โครงสร้างและหลักการทำงานของ CPLD
CPLD เป็นคำย่อมาจาก Complex Programmable Logic Device หมายถึงเป็นชิพไอซีที่สามารถสร้างวงจรลอจิกทั้งแบบ Combination และ Sequential ได้โดยการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมลงไปบนตัวชิพโดยใช้มาตรฐานการโปรแกรมแบบ JTAG Programmer
อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ได้แก่
GAL (GAL : Gate Array Logic) เป็นชิพที่ใช้โปรแกรมวงจรลอจิกได้เฉพาะวงจร Combination โปรแกรมโดยเครื่องโปรแกรมโดยเฉพาะ โปรแกรมได้เพียงครั้งเดียว หากผิดไม่สามารถแก้ไขได้ ขาอินพุท และเ อ้าท์พุทถูกกำหนดไว้ตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนได้ มีจำนวนลอจิกเกต
น้อย ใช้แทนวงจรที่มีขนาดเล็กไม่ซับซ้อน
PAL (PAL : Programmable Array Logic) เป็นชิพที่ใช้โปแกรมสร้างวงจรลอจิกที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่า GAL โดยมีทั้งตัว Logic gate ต่าง ๆ และ ตัว Flip – flopที่สามารถออกแบบวงจรที่ผสมระหว่าง Combination logic และ Sequential logic การโปรแกรมมีเครื่องมือที่สามารถออกแบบและโปรแกรมผ่านทางคอมพิวเตอร์ได้ ส่วนขา I/O ยังถูกบังคับไม่สามารถใช้สลับกันได้ แต่การโปรแกรมไม่สามารถทำซ้ำได้มากนัก
ส่วน CPLD เป็นชิพที่ใช้ออกแบบวงจรขนาดใหญ่ที่สามารถออกแบบโดยเขียนเป็นโปรแกรมภาษา HDL ได้ ใช้เทคโนโลยีการเก็บรักษาวงจรแบบ Flash ที่สามารถคงสถานะของวงจรที่ฝังอยู่ประมาณ 20 – 40 ปี สามารถโปรแกรมซ้ำได้ประมาณมากกว่า 10000 ครั้ง ขา I/O เป็นแบบเอนกประสงค์โดยสามารถกำหนดให้ เป็นอินพุท และเอ้าพุทแบบต่าง ๆ ได้ มีจำนวนลอจิกเกตที่สามารถกำหนดให้เป็นเกต อะไรก็ได้ เริ่มตั้งแต่ 800 ตัวและ Flip-flop 36 ตัว ไปจนถึง เป็นแสน ๆ เกต
และ Flip-flop หลายพันตัว ที่สามารถรองรับการออกแบบวงจรขนาดใหญ่ ๆ และซับซ้อนมาก ๆ ได้
FPGA (FPGA : Filled Programmable Gate Array) เป็นชิพที่ใช้ออกแบบวงจรที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ และมีความซับซ้อนของระบบสูงมากเท่าที่มีอยู่ปัจจุบัน ที่ใช้ในการพัฒนาออกแบบหน่วยประมวลผล (CPU) ขนาดใหญ่ ๆ ได้ โดยมีจำนวนลอจิกเกตและ Flip-flop นับล้าน ๆ ตัว มีจำนวนขา I/O ตั้งแต่หลายสิบไปจนถึงหลายร้อยขา การโปรแกรมและการรักษาวงจรใช้เทคโนโลยีแบบ Volantine เช่นเดียวกับโครงสร้างหน่วยความจำ RAM คือต้องโปรแกรมแล้วต้องมีไฟเลี้ยงตัวชิพอยู่ตลอดเวลา หากไฟดับวงจรจะหายไปทันที ดังนั้นในการออกใช้งาน จะต้องมี Flash memory สำหรับเก็บค่าสถานะของวงจรต่อพ่วงอยู่เสมอ โดยขณะที่โปรแกรม เราต้องโปรแกรมค่า Config. ลงใน Flash ด้วย การทำงานคือ เมื่อเปิดไฟเลี้ยงตัวชิพ ข้อมูล Config.วงจรจาก Flash จะถูกโหลดมาสร้างเป็นวงจรตามที่โปรแกรมไว้และทำงานได้ทันที ด้วยเทคโนโลยีนี้ FPGA จึงสามารถใช้งานได้เหมือนกันกับ 2
CPLD และที่สำคัญ CPLD และ FPGA สามารถใช้โปรแกรมที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาออกแบบวงจรตัวเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น